รูปวงกลมมีสัญลักษณ์ดอกบัวหลวงสีชมพูอยู่ตรงกลาง และรวงข้าวสีทองอยู่ 2 ข้าง ดอกบัวและต้นข้าว หมายถึง ความสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร จังหวัดปทุมธานี ใช้อักษรย่อว่า "ปท"
คำขวัญประจำจังหวัดปทุมธานี
ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมมะ
พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม
ธงประจำจังหวัดปทุมธานี
สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์สีขาว หมายถึง ศาสนา
ดอกบัวหลวงกับต้นข้าว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ ธัญญาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งดอกบัวและข้าว
ความหมายรวมของธงประจำจังหวัดปทุมธานี จึงหมายถึงว่าชาวจังหวัดปทุมธานีเป็นหมู่คณะที่มีความรักความสามัคคีเป็นปึกแผ่นอันเป็นส่วนหนึ่งชาติไทย ที่มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ดอกไม้ประจำจังหวัด ดอกบัวหลวง
บัวหลวง (LOTUS) ชื่อวงศ์ Nelumbonaceae มีชื่อเรียกทั่วไปว่า ปทุมชาติ หรือบัวหลวง มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชีย เช่น จีน อินเดีย และไทย รูปดอกจะเป็นพุ่มทรงสูงกลับดอกสีชมพู ซ้อนกันหลายชั้น แต่ละกลีบโค้ง มีเกสรตัวผู้สีเหลืองเป็นจำนวนมาก ถัดเข้าไปตรงกล่งเป็นฐานรองดอก จะขยายเป็นรูปกรวยสีเหลืองเป็นส่วนที่ไข่จะฝังอยู่ และไข่จะเจริญไปเป็นผลบัวและฝังอยู่บนฝักบัว บัวชนิดนี้ มีชื่อเรียกว่า บุณฑริก ปุณทริก ปทุม ปัทมา โกกระณต
ต้นไม้มงคลพระราชทาน ประจำจังหวัดปทุมธานี ต้นปาริชาติ
ต้นปาริชาติ ก็คือต้น ทองหลางลาย นั่นเอง ทองหลางเป็นพืชในสกุล Erythrina variegate L. อยู่ในวงศ์ Leguminosae-Papilionodeae เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร เรือนยอกเป็นพุ่มกลม โปร่ง ตามกิ่งหรือลำต้นอ่อนีหนามแหลมคม แต่จะค่อยๆหลุดไป เมื่อต้นมีอายุมากขึ้น
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับใบหนา ดอกคล้ายดอกถั่ว มีสีแดงเข้ม ออกรวมกัน เป็นช่อยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร จะออกดอกในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เวลาออกดอกจะทิ้งใบหมดต้นส่วนผลเป็นฝักยาว โค้งเล็กน้อย ยาว 15-0 เซนติเมตร เมื่อผลแก่ฝักจะแตกที่ปลายอ้าออก ภายในมีเมล็ด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น